ข้อเสียของไฮโดรโปนิกส์

1.   การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์จะมีต้นทุนการผลิตเริ่มต้นค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ในการเพาะปลูกต่าง ๆ มากมายและมีราคาแพง แต่มีศักยภาพในการคืนทุนเร็ว (ในปัจจุบันเราสามารถหาซื้อชุดปลูกผักสำเร็จรูปได้ในแบบราคาย่อมเยา หรือจะศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อทำเองก็ได้)

2.   ผู้ปลูกต้องมีความชำนาญและมีประสบการณ์มากพอสมควรในการควบคุมดูแล เพราะถ้าไม่มีความรู้หรือไม่มีความสามารถในการจัดการที่ดีพอก็อาจทำให้พืชผักที่ปลูกมีปริมาณธาตุอาหารในพืชสูงได้

3.   ผู้ปลูกจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของสรีรวิทยาของชนิดพืชที่จะปลูก รวมไปถึงพื้นฐานทางเคมีและธาตุอาหารที่พืชต้องการ

4.    การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ต้องมีการควบคุมดูแลอย่างสม่ำเสมอ

5.  วัสดุที่ใช้ในการเพาะปลูกบางอย่างจะเน่าเปื่อยหรือสลายตัวได้ยาก ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมได้ ถ้าหากไม่มีการจัดการที่ดีพอ

6.  มีข้อจำกัดของชนิดพืชที่ปลูกมีค่อนข้างสูง ทำให้การเลือกพืชที่จะเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์จะต้องมีการศึกษาตลาดอย่างถี่ถ้วน และควรเป็นพืชที่แตกต่างจากพืชที่ปลูกกันอยู่ทั่วไปบนดิน

7.  ในบริเวณที่จะติดตั้งระบบไฮโดรโปนิกส์ จะต้องมีระบบไฟฟ้าและระบบน้ำที่พร้อม เนื่องจากเป็นพื้นฐานของการติดตั้งระบบการปลูกด้วยวิธีนี้

8.   กรรมวิธีต้องมีความสะอาด เพราะควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อราได้ยากมาก โดยที่ติดราแล้ว จะติดทั้งระบบ

9.   มีความเสี่ยงต่อโรคในน้ำค่อนข้างมาก เพราะน้ำนำพาการกระจายของโรคพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดกับรากซึ่งยากต่อการรักษา


10.ไม่สามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้ และยังทำให้พืชขาดจุลินทรีย์ในดินบางชนิด ที่อยู่รอบๆ รากพืช อาทิ ไรโซเบียม (rhizobium) ในปมรากถั่ว ที่สามารถดึงไนโตรเจนจากอากาศมาให้พืชใช้โดยตรง ตลอดจนจุลินทรีย์อื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อพืช เช่น actinomycetes blue green algae และ photosynthetic bacteria เป็นต้น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ความหมายและประวัติความเป็นมา