บทความ

ข้อเสียของไฮโดรโปนิกส์

รูปภาพ
1.     การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์จะมีต้นทุนการผลิตเริ่มต้นค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ในการเพาะปลูกต่าง ๆ มากมายและมีราคาแพง แต่มีศักยภาพในการคืนทุนเร็ว (ในปัจจุบันเราสามารถหาซื้อชุดปลูกผักสำเร็จรูปได้ในแบบราคาย่อมเยา หรือจะศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อทำเองก็ได้) 2.     ผู้ปลูกต้องมีความชำนาญและมีประสบการณ์มากพอสมควรในการควบคุมดูแล เพราะถ้าไม่มีความรู้หรือไม่มีความสามารถในการจัดการที่ดีพอก็อาจทำให้พืชผักที่ปลูกมีปริมาณธาตุอาหารในพืชสูงได้ 3.     ผู้ปลูกจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของสรีรวิทยาของชนิดพืชที่จะปลูก รวมไปถึงพื้นฐานทางเคมีและธาตุอาหารที่พืชต้องการ 4.      การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ต้องมีการควบคุมดูแลอย่างสม่ำเสมอ 5.    วัสดุที่ใช้ในการเพาะปลูกบางอย่างจะเน่าเปื่อยหรือสลายตัวได้ยาก ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมได้ ถ้าหากไม่มีการจัดการที่ดีพอ 6.    มีข้อจำกัดของชนิดพืชที่ปลูกมีค่อนข้างสูง ทำให้การเลือกพืชที่จะเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์จะต้องมีการศึกษาตลาดอย่างถี่ถ้วน ...

ประโยชน์ของระบบและผักไฮโดรโปนิกส์

รูปภาพ
ประโยชน์ของระบบไฮโดรโปนิกส์ 1. ข้อดีที่เป็นจุดแข็งของผักชนิดนี้ก็การได้ผลผลิตที่สะอาดกว่าการปลูกในดิน ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ผักที่ได้มีความสวยงามน่ารับประทาน ผักมีรสชาติดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และผักสดที่ได้จะมีความนุ่มและกรอบกว่าผักที่ปลูกในดิน 2. การปลูกผักแบบไฮโดรไปนิกส์ไม่ต้องใช้ดินในการเพาะปลูก จึงสามารถปลูกได้ทุกที่ ปลูกได้ทั้งพืชขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นที่ปลูกน้อย (เช่น ผู้ที่อาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์) และไม่มีขอบเขตไม่ว่าจะเป็นการปลูกในจำนวนน้อยเพื่อใช้บริโภคเองภายในครัวเรือนหรือปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ในเชิงธุรกิจ ด้วยเหตุนี้เองวิธีนี้จึงเป็นที่นิยมในการปลูกเป็นอย่างมากในเมืองที่มีประชากรหนาแน่น เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น เนเธอแลนด์ เป็นต้น 3. ช่วยทำให้มีสิ่งแวดล้อมในการปลูกที่เราสามารถควบคุมเองได้มากขึ้นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช เพราะเราสามารถกำจัดตัวแปรต่าง ๆ ที่ไม่ทราบออกไปจากการทดลองได้จำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกผักบนดิน 4. การปลูกผักรูปแบบนี้สามารถนำมาใช้ได้กับพืชหลายชนิด (ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการปลูกด้วย) ไม่ว่าจะเป็นผัก ผล...

โรคพืชและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในระบบไฮโดรโปนิกส์

รูปภาพ
โรคพืชในกลุ่มผักไฮโดรโปนิกส์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ 1. โรคที่เกิดกับใบ ( Foliar diseases) โรคในกลุ่มนี้ จะเกิดจากเชื้อที่แพร่ระบาดทางอากาศ หรือบางโรคเกิดจากแมลงที่เป็นพาหะ ทำให้มีการติดเชื้อที่ใบของพืช เช่น โรคราแป้ง โรคราน้ำค้าง หรือ โรคใบจุด เป็นต้น โรคราแป้ง โรคราน้ำค้าง โรคใบจุด 2.   โรคที่เกิดกับราก ( Root diseases) โรคกลุ่มนี้จะเกิดจากเชื้อที่ปนเปื้อนเข้าไปในระบบจ่ายสารละลายธาตุอาหาร หรือในน้ำที่เราใช้ในการเตรียมสารละลาย วัสดุปลูกหรือเมล็ดพันธุ์ จะทำให้เกิดการติดเชื้อที่รากหรือส่วนอื่นๆของผักที่อยู่ในวัสดุปลูก  ตัวอย่างของโรคนี้ เช่น โรครากเน่า โรคโคนเน่า และโรคเหี่ยว โรครากเน่า ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคในผักไฮโดรโปนิกส์ 1.   ระบบที่ใช้ปลูก เช่น ระบบที่มีการหมุนเวียนเอาสารละลายมาใช้ใหม่ โอกาสที่จะเป็นโรครากก็จะเพิ่มขึ้น 2.   สภาพการปลูก การปลูกในระบบเปิดหรือกลางแจ้งย่อมมีโอกาสเกิดโรคที่ใบมากกว่าสภาพโรงเรือนปิด 3.   ชนิดของพืชผัก พืชผักที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่าก็จะมีโอกาสที่เป็นโรคน้อยกว่า

วิธีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

รูปภาพ
ปลูกในขวด 1.   เตรียมอุปกรณ์ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้พร้อม 1.1        ขวดน้ำพลาสติก ( Plastic Bottle) 1.2        กระบอกฉีดน้ำ ฟ็อกกี้ ( Foggy Spray Bottle) 1.3        กระดาษทิชชู่ ( Tissue Paper) 1.4        สารละลายธาตุอาหาร A และ B ( หรือ ปุ๋ย A B)            ( Hydro A&B Nutrients) 1.5        ภาชนะเพาะเมล็ด ( Seed Tray) 1.6        เมล็ดพันธุ์ (Seed) 1.7        แผ่นฟองน้ำ ( Sponge Sheet) 1.8        กรรไกร (Scissor) 1.9        ไซริงค์ฉีดยา หรือ กระบอกฉีดยา ( Syringe) 1.10 กระดาษ A4 (A4 Paper) 1.11 เทปใส ( Transparent Tape) 2.   เลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ พืชผัก ที่ต้องการจะ ปลูก ซื้อเมล็ดพันธุ์ของพืชผักที่ต้องการจะปลูก แนะนำให้ปลูกผักที่โตง่าย...

ความหมายและประวัติความเป็นมา

รูปภาพ
ความหมาย             โดรโปนิกส์ ( Hydroponics) เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแต่ใช้น้ำที่มีธาตุอาหารพืชละลายอยู่ หรือ การปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืชทดแทน   ซึ่งนับเป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืช  โดยเฉพาะการปลูกผักและพืชที่ใช้เป็นอาหาร เนื่องจากประหยัดพื้นที่ และไม่ปนเปื้อนกับสารเคมีต่างๆ ในดิน ให้ได้พืชผักที่สะอาดเป็นอาหาร ปัจจุบันนี้ในเทคนิคการปลูกพืชแบบไร้ดินหลายแบบด้วยกัน   คำว่า   ไฮโดรโปนิกส์ ( hydroponics) เป็นคำผสมระหว่างคำ 3 คำ คือ             ไฮโดร ( hydro) หมายถึงน้ำ         โปโนส ( ponos) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก หมายถึงการทำงาน และ        อิกส์ ( ics) หมายถึงศาสตร์หรือศิลปะ ประวัติความเป็นมา             ประวัติความเป็นมาของการปลูกพืชโดยวิธีนี้นั้นเริ่มมาจากการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ธาตุอาหารต่างๆ ในการปลูกพืช ซึ่งมีมาตั้งแต่หลายพันปีก่อนสมัยของอริสโตเติล จากหลักฐานทางประวั...

บทนำ

รูปภาพ
  การปลูกพืชไร้ดิน เป็นการปลูกพืชแบบหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างมากในปัจจุบัน สามารถปลูกพืชได้ในทุกสถานที่โดยไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่ว่าจะปลูกจำนวนน้อยหรือการปลูกแบบเศรษฐกิจเชิงการค้า สามารถใช้เทคนิคการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับพืชได้แทบทุกชนิด ตั้งแต่ผัก ผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชไม้เลื้อย จนถึงพืชยืนต้น แต่ส่วนมากนิยมปลูกกับพืชผัก ไม้ผลที่มีระยะเก็บเกี่ยวในช่วงอายุสั้น การปลูกพืชไร้ดินสามารถหลีกเลี่ยงสภาวะต่างๆ ที่ไม่อำนวยในสภาพการผลิตจากวิธีการปลูกพืชโดยทั่วๆ ไป อาทิเช่น สภาพดินที่ไม่เหมาะสม ดินเค็ม ดินเปรี้ยว สภาพอากาศ ฤดูกาล รวมถึงการขยายตัวของชุมชนทำให้พื้นที่ทำการเกษตรลดลง และราคาที่ดินสูงขึ้น นอกจากนี้การปลูกพืชไร้ดินยังสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างถูกต้องและแน่นอน จึงทำให้ผลผลิตและคุณภาพของพืชที่ปลูกแบบไร้ดินสูงกว่าการปลูกพืชในดิน ยิ่งไปกว่านั้นการปลูกพืชไร้ดินยังประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายที่ไม่ต้องเตรียมดินและกำจัดวัชพืชก่อนการเพาะปลูก เกษตรกรสามารถปลูกพืชได้ต่อเนื่องตลอดปีในพื้นที่เดิม โดยไม่มีปัญหาการทำลายสภาพความอุดมสมบูรณ์ของ...